วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบตัวเลขฐาน

เลขฐาน
ตัวเลขพื้นฐาน
ฐานสอง
ฐานแปด
ฐานสิบ
ฐานสิบหก
0, 1
0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9
0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B, C, D, E, F
1.  ระบบเลขฐานสิบ  ระบบเลขฐานสิบเป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวันประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  และ  9 การนับเลขในระบบเลขฐานสิบ หลักหน่วยจะเริ่มจาก 0 ถึง และเพิ่มเป็นสองหลัก โดยเพิ่มหลักซ้ายมือด้วยเลข  1            
2. ระบบเลขฐานสอง  ระบบเลขฐานสองเป็นระบบตัวเลขที่เหมาะสมกับการทำงานในระบบดิจิตอล และคอมพิวเตอร์ เลขฐานสองประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1 ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะเรียกว่า บิต (bit) ซึ่งย่อมาจาก Binary Digit การนับเลขในระบบเลขฐานสอง หลักหน่วยจะเริ่มจาก 0 ถึง 1 และเพิ่มขึ้นเป็น สองหลัก โดยเพิ่มหลักซ้ายมือด้วยเลข 1
3. ระบบเลขฐานแปด ระบบเลขฐานแปดเป็นระบบตัวเลขที่มักใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ตัวเลขในระบบเลขฐานแปด ประกอบด้วยตัวเลข 8 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ การนับเลขในระบบเลขฐานแปด หลักหน่วยจะเริ่มจาก 0 ถึง 7 และเพิ่มขึ้นเป็น   สองหลัก โดยเพิ่มหลักซ้ายมือด้วยเลข 1
4.  ระบบเลขฐานสิบหก  ระบบเลขฐานสิบหกเป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ประกอบด้วยตัวเลข 16 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B, C, D, E และ F การนับเลขในระบบเลขฐานสิบหก หลักหน่วยจะเริ่มจาก 0 ถึง F และเพิ่มขึ้นเป็นสองหลัก โดยเพิ่มหลักซ้ายมือด้วยเลข 1

(ภาพจาก google)
การแทนข้อมูลในหน่วยความจำ
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลและคำสั่งในขณะประมวลผล การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นการเก็บรหัสตัวเลขฐานสอง ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลทั้งตัวเลขหรือตัวอักษรจะได้รับการแทนเป็นตัวเลขฐานสอง แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำ เช่น ข้อความว่า BANGKOK เก็บในคอมพิวเตอร์จะแทนเป็นรหัสเรียงกันไป ดังนี้


หน่วยความจำ
B
01000010
A
01000001
N
01001110
G
01000111
K
01001011
O
01001111
K
01001011
(แสดงตัวอย่างการแทนข้อความในหน่วยความจำ)

หน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ มีขนาดความกว้าง 8 บิต และเก็บข้อมูลเรียงกันไป โดยมีการกำหนดตำแหน่งซึ่งเรียกว่า เลขที่อยู่ (address) เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บมีความถูกต้อง การเขียนหรืออ่านทุกครั้งจึงต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วิธีที่ง่ายและนิยมใช้กันคือการเพิ่มอีก 1 บิต เรียกว่า บิตพาริตี (parity bit) บิตพาริตีที่เพิ่มเติมเข้าไปจะทำให้ข้อมูลทั้งหมดในส่วนนั้นมีเลข 1 เป็นจำนวนคู่ หรือจำนวนคี่ เช่น ในไมโครคอมพิวเตอร์เพิ่มอีก 1 บิต เพื่อทำให้เลขหนึ่งเป็นจำนวนคู่ เรียกว่าพาริตีคู่ (even parity) บิตพาริตีที่เติมสำหรับข้อมูลตัวอักษร A และ E เป็นดังนี้
A 01000001 0 <-- บิตพาริตี
E 01000101 1 <-- บิตพาริตี
ข้อมูล A มีเลข 1 สองตัว ซึ่งเป็นจำนวนคู่อยู่แล้ว ดังนั้นจึงใส่บิตพาริตีเป็นเลข 0
ข้อมูล E มีเลข 1 เป็นจำนวนคี่ จึงใส่บิตพาริตีเป็น 1 เพื่อให้มีเลข 1 เป็นจำนวนคู่

         การแทนคำสั่งในหน่วยความจำ
        หน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในซีพียู ทำการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตาม คำสั่งคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่สุดเรียกว่า ภาษาเครื่อง (machine langauge) ภาษาเครื่องมีลักษณะเป็นรหัสที่ใช้ตัวเลขฐานสอง ตัวเลขฐานสองเหล่านี้แทนชุดรหัสคำสั่ง คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีคำสั่งที่ใช้ได้หลายร้อยคำสั่ง แต่ละคำสั่งจะมีความหมายเฉพาะ
เช่น คำสั่งนำข้อมูลที่มีค่าเป็น3 จาหน่วยความจำตำแหน่งที่ 8000 มาบวกกับข้อมูลที่มีค่าเป็น5 ในตำแหน่งที่ 8001 ผลลัพธ์ที่ได้ให้เก็บไว้ในหน่วยความจำตำแหน่งที่ 8002 เมื่อเขียนคำสั่งเป็นภาษาเครื่องจะมีลักษณะเป็นตัวเลขฐานสองเรียงต่อกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเข้าใจได้ยาก จึงมักใช้ตัวอักษรแทนรหัสภาษาเครื่องเหล่านี้ ดังตัวอย่าง

แอสเซมบลี
ภาษาเครื่อง
LD A,(8000)
00111010,00000000,10000000
LD B,A
01000111
LA A,(8001)
00111010,00000001,10000000
ADD A,B
10000000
LD (8002), A
00110010,00000010,10000000
(แสดงตัวอย่างการแทนคำสั่งภาษาเครื่อง)

     ภาษาสั่งการพื้นฐานที่ใช้รหัสตัวเลขฐานสองนี้เรียกว่า 
ภาษาเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูต่างตระกูลกันจะมีภาษาเครื่อง
ที่ต่างกัน เช่น เครื่องที่ใช้ซีพียูเพนเทียมกับซีพียูที่ใช้ใน
เครื่องแมกอินทอช มีรหัสคำสั่งต่างกัน

            การบันทึกข้อมูลแบบต่างๆในหน่วยความจำ

เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงลักษณะการบันทึกข้อมูล ซึ่งมีหลายแบบ ผู้เขียนขอแสดงลักษณะการบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์       IBM system 360 ซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจถึงการบันทึกข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ง่ายขึ้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

1. การบันทึกข้อมูลโดยใช้รหัส EBCDIC
2. การบันทึกข้อมูลแบบ Packed Decimal
ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่เป็นจำนวนเลขโดยใช้ 1 byte ต่อตัวเลขทั้ง 2 ตัว โดยใช้ส่วนครึ่ง byte สุดท้ายสำหรับเป็นส่วนแสดงเครื่องหมายคือมีค่าเป็น C หรือ F ถ้ามีค่าเป็นบวก และมีค่าเป็น D ถ้ามีค่าเป็นลบ 
            3.การบันทึกข้อมูลแบบ  Binary
การบันทึกข้อมูลแบบนี้ programmer เป็นผู้บอกเครื่องว่าต้องการใช้เนื้อที่ 2 หรือ 4 หรือ 8 byte ต่อจำนวนเลข 1 จำนวน ศัพท์เฉพาะสำหรับ field ที่มีขนาด 2 byte คือ half word ขนาด 4  คือ full word และขนาด 8 byte คือ double word


     การแทนข้อมูลชนิดจำนวนเลขแบบมีจุดทศนิยม

ข้อมูลชนิด numeric ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะที่เป็นจำนวนเต็ม (fixed-point) (เช่น 123 เป็นต้น) กับลักษณะที่มีจุดทศนิยม (floating-point) (เช่น 123,45 เป็นต้น
















ผู้จัดทำ
นางสาว จิราภรณ์  มิตรวงค์
นางสาว นันทิยา    แก้วคนฑา
เพื่อการศึกษารายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ใช้




การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล.  ค้นคืนเมื่อ มิถุนายน 13,2554, 
           จาก http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/data.htm
            ข้อมูลและสารสนเทศ.  ค้นคืนเมื่อ มิถุนายน 13,2554, จาก
           http://ns1.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/technof2.htm















วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Question รหัสแทนข้อมูล

1. ข้อใดคือความหมายของรหัสแทนข้อมูล
. ตัวอักษรต่างๆ ตั้งแต่ตัวอักษรภาษาอังกฤษและภาษาไทย
. รหัสที่เป็นตัวเลข
. รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระ ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ
. ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำ
. ตัวเลขตัวเลขแค่ 0-9

2. ความจุของหน่วยความจำใดมีค่ามากที่สุด
. Kilobyte
. Bit
. Megabyte
. Gigabyte
. Byte

3. รหัส ASCII ใช้เลขใด และมีจำนวนกี่หลัก
. รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง 8 หลัก
. เลขฐานสิบ  8 หลัก
. เลขฐานสิบหก 8 หลัก
. เลขฐานสอง  4 หลัก
. เลขฐานสิบ  4 หลัก

 4. ข้อใดอยู่ในประเภทของรหัสแทนข้อมูล
. รหัส EBCDIC
. รหัส UNICODE
. Binary Code Decimal
. Pure Binary
. ถูกทั้ง ค และ ง

5. ภาษาสั่งการพื้นฐานที่ใช้รหัสตัวเลขฐานสอง เรียกว่าอะไร
. ภาษา computer
. ภาษาเครื่อง
. ภาษาแอสกี
. ภาษาบิตพาริตี้
. ภาษา unicode








ผู้จัดทำ
นางสาว จิราภรณ์    มิตรวงค์
นางสาว นันทิยา       แก้วคนฑา
เพื่อการศึกษารายวิชาเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้

รหัสแทนข้อมูล

     ความหมายของรหัสแทนข้อมูล
รหัสแทนข้อมูล หมายถึง รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระ ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ ที่ใช้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพราะว่าข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์จะแทนรหัสเลขฐานสองที่มีเลข 0 กับ 1 วางเรียงกัน

(ภาพจาก google)

มารู้จัก Bit, Byte กันเถอะ
           เลข 0 และ 1ในระบบฐานสองแต่ละตัว เรียกว่าบิต (bit) ย่อมาจากคำว่า Binary Digit บิตเป็นหน่วยเล็กที่สุดในการเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากบิตเดียวไม่สามารถเก็บข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ ได้ครบ ดังนั้นจึงต้องรวมบิตหลายบิตเข้าเป็นกลุ่มเรียกว่าไบต์ (byte) แต่ละไบต์จะแทนอักขระหนึ่งตัว โดยปกติแล้วใช้แปดบิตรวมกันเป็นหนึ่งไบต์  ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องคำนึงถึงรหัสที่ใช้แทนข้อมูล ความจุของหน่วยความจำและความจุของที่เก็บข้อมูลสำรองในคอมพิวเตอร์ ซึ่งหน่วยของความจุที่เก็บข้อมูลจะมีหน่วยเป็นหน่วยของไบต์ และหากมีความจุสูงก็อาจใช้หน่วยความจุเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) โดยหนึ่งกิโลไบต์มีค่าเป็น 1,024 ไบต์ ใช้สัญลักษณ์ KB หรือ K
ถ้าหน่วยความจำขนาด 640 กิโลไบต์ จะเก็บข้อมูลได้ 640 x 1,024 หรือ 655,360 ไบต์ นอกจากนี้ยังมีหน่วยความจุเป็นเมกะไบต์ (Megabyte)ซึ่งมีค่าเป็น 1,024 x1,024 หรือ 1,048,576 ไบต์ ใช้สัญลักษณ์ MB หรือ M แทน
หน่วยความจำมีความจุมากขึ้นจนอยู่ในหน่วยของจิกะไบต์ (Gigabyte) ซึ่งมีค่าเป็น 1,024 x1,024 x1,024 ไบต์ หรือ 1,073,741,824 ไบต์ ใช้สัญลักษณ์ GB หรือ G แทน ในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ยังมีการรวมกลุ่มของบิตจำนวนหนึ่งเรียกว่าเวิร์ด (word) ซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดจะมีขนาดของเวิร์ดไม่เท่ากัน โดยทั่วไปแล้วถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดมีเวิร์ดขนาดใหญ่กว่า ก็แสดงว่าเครื่องนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปจะใช้ 8 บิตรวมกันเป็นหนึ่งเวิร์ด ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์บางรุ่นใช้ 16 บิตรวมกันเป็นหนึ่งเวิร์ด ในเครื่องระดับเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์บางรุ่นใช้ 32 บิตรวมกันเป็นหนึ่งเวิร์ด ส่วนในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้ 64 บิตรวมกันเป็นหนึ่งเวิร์ด ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าเป็นเครื่องขนาด 8 บิต (หนึ่งเวิร์ด) จะหมายความว่า ณ ขณะใดขณะหนึ่งเครื่องนั้นจะสามารถประมวลผลได้ครั้งละ 8 บิต แต่ในเครื่องขนาดใหญ่ขนาด 64 บิตจะสามารถประมวลผลได้ครั้งละ 64 บิตหรือ 8 ไบต์ ทำให้ประมวลผลเร็วกว่าเครื่องรุ่นเก่าถึง 8 เท่า

(ภาพจาก google)


        8 Bit เป็น 1 Byte (เท่ากับ 1 Character)
        1,024 Bytes  เป็น1 MB (Kilobyte)
        1,024 KB เป็น 1 MB (Megabyte)
        1,024 MB เป็น 1 GB (Gigabyte)
        1,024 GBเป็น1 TB (Terabyte)


  ชนิดของรหัสแทนข้อมูล

1.รหัEBCDIC(ExtendedBinaryCodeDecimalInterchange Code)
รหัสเอบซีโคดพัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มใช้แทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด 2 หรือ 256 ชนิด การเก็บข้อมูลโดยใช้รหัสเอบซีดิกจะแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือโซนบิต (Zone bits) ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมีจำนวน 4 บิตและนิวเมอริกบิต (Numeric bits)ในอีก 4 บิตที่เหลือ
2. รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange)
รหัสแอสกีเป็นรหัสที่นิยมใช้กันมากจนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications) ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง 8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วนคือโซนบิตและนิวเมอริกบิตเช่นเดียวกันโปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมได้มีการเปลี่ยนแปลงการแทนข้อมูลด้วยรหัส ACSII ให้ต่างไปจากมาตรฐาน โดยรหัสการจัดรูปแบบตัวอักษร (formatiing) ให้เป็นตัวหนาหรือตัวเอียง เป็นต้น ทำให้โปรแกรมอื่น ๆ ไม่สามารถอ่านข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมประเภทนี้ได้ เพราะมีการกำหนดรหัสแทนข้อมูลไม่ตรงกัน
(ภาพจากgoogle)


    3. รหัส UniCode
เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุดถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Window NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย 
ประเภทของรหัสแทนข้อมูล
การที่ต้องมีรหัสแทนข้อมูล ก็เนื่องมาจากลักษณะของวัสดุที่ใช้เป็น bit ของหน่วยความจำมี 2 สถานภาพ ซึ่งแทนด้วย binary digit 0 หรือ 1 ดังได้กล่าวแล้ว รหัสที่ใช้แทนข้อมูลซึ่งต้องเป็น combination ของ 0 หรือ 1 รหัสแทนข้อมูลนี้มีหลายประเภทแต่ใช้กันมากมี 3 ประเภท  คือ
     1. BCD (Binary Coded Decimal)
บางทีเรียกว่ารหัส 6 bit (6 bit code) เป็นรหัสที่ใช้เนื้อที่ 6 bit สำหรับ 1 character โดยแบ่ง 6 bit ออกเป็น 2 ส่วน คือ 2 bit แบ่งสำหรับเป็น zone bit และ 4 bit หลังเป็น digit bit ในกรณีที่ข้อมูลเป็นตัวเลข zone bit จะมีค่าเป็น 00 และ digit bit จะมีค่าเท่ากับเลขฐาน 2 ซึ่งมีค่าเท่ากับตัวเลขนั้น  เพื่อให้กะทัดรัดซึ่งใช้เลขฐาน 8 ในการบอกรหัส BCD โดยแบ่งเลขฐาน 2 ออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 จะได้เลขฐาน 8 สองตัว
ตัวอย่างเช่น  9 2 4 3 A B เครื่องจะเก็บค่าเป็นเลขฐาน 8 ดังนี้
11
02
04
03
21
22

 ซึ่งเท่ากับรหัสแสดงเป็นเลขฐาน 2 ดังนี้
001111
000010
000100
000011
010001
010010


 2. EBCDIC (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code)
คำนี้เสียงว่า เอ๊บซีดิค เป็นรหัสที่ใช้ 8 bit สำหรับ 1 character จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รหัส 8 bit (8 bit code ) การขยายรหัสแทนข้อมูลจาก 6 bit สามารถมีรหัสแตกต่างกันได้ 64 ทาง ส่วนรหัส 8 bit หรือ EBCDIC ซึ่งทำให้สามารถมีรหัสได้มากขึ้นถึง 256-64 = 192 รหัส จำนวนรหัสที่มากขึ้นนี้ทำให้สามารถใช้แทนตัวอักษรทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก ตัวเลข และเครื่องหมายต่าง ๆ ได้ และยังมีรหัสเหลือใช้ซึ่งได้มีผู้นำมาประยุกต์เป็นรหัสสำหรับข้อมูลภาษาไทย
รหัส 8 bit แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 4 bit แรกเป็น zone bit และอีก 4 bit แรกเป็น zone bit เป็น digit bit จะแสดงเป็นเลขฐาน 2 และเลขฐาน  16 สำหรับเลขฐาน 16 นั้น ได้จากการแบ่งรหัสเลขฐาน 2 ออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 4 ตัว จะได้เลขฐาน 16 สองตัว ซึ่งจะสะดวกและกะทักรักกว่าการแสดงเป็นเลขฐาน 2 มาก
ตัวอย่างเข่น ค่า 0243AB จะเท่ากับรหัสแสดงเป็นเลขฐาน 16 ดังนี้
F0
F2
F4
F3
C1
C2


ซึ่งเท่ากับรหัสแสดงเป็นเลขฐาน 2 ดังนี้
11111001
11110010
11110100
11110011
11000001
11000010

3. Pure Binary
บางทีเรียก ture binary code เป็นรหัสที่ใช้สำหรับข้อมูลที่จำเป็นตัวเลขเท่านั้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะกำหนดเนื้อที่จำนวนตายตัวสำหรับข้อมูลแต่ละจำนวน เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 360 กำหนดเนื้อที่ 16,32 หรือ 64 bit สำหรับข้อมูล 1 จำนวน โดยทั่วไป programmer จะเป็นผู้บอกเครื่องว่าต้องการให้ตัวแปรใดใช้ขนาดเนื้อที่ชนิดใด (16,32 หรือ 64 bit ) อย่างไรก็ตามในการใช้รหัสแทนข้อมูลแบบ pure binary นี้ จะกำหนดให้ bit ซ้ายสุด เป็น sing bit คือ ถ้า บิตแรกทางด้านซ้ายมีค่าเป็น 0 แสดงว่าเป็นค่าบวก ถ้ามีค่าเป็น 1 แสดงว่ามีค่าลบ จำนวน bit ที่เหลือจะเป็น binary number ซึ่งมีค่าเท่ากับจำนวนเลขนั้น 

อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับระบบตัวเลขและการแทนข้อมูลในหน่วยความจำ คลิ๊กเรยจ๊








ผู้จัดทำ
นางสาว จิราภรณ์  มิตรวงค์
นางสาว นันทิยา  แก้วคนพา
เพื่อการศึกษารายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ใช้




การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล.  ค้นคืนเมื่อ มิถุนายน 13,2554, 
           จาก http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/data.htm
            ข้อมูลและสารสนเทศ.  ค้นคืนเมื่อ มิถุนายน 13,2554, จาก
           http://ns1.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/technof2.htm